top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนniracha payyakul

กันแดด ดูแลผิว พร้อมรับมือปกป้องpm2.5

กันแดด ดูแลผิว พร้อมรับมือปกป้องpm2.5

ใครที่คิดว่าอยู่บ้านไม่ต้องทาครีมกันแดดก็ได้ กันแดด ดูแลผิว ถึงคุณจะอยู่บ้าน อย่าลืมว่าในบ้านยังมีแสงจากหลอดไฟนีออน แสงจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ดังนั้นควรทาครีมกันแดดที่ค่า SPF น้อย ๆ ในทุกเช้าแม้จะอยู่ในบ้านก็ตาม



เปิดหน้าต่างยามเช้าเห็นหมอกขาว ๆ ลอยแน่น ไม่ใช่เพราะเป็นฤดูหนาวหากคือ มลพิษ ที่ลอยอยู่ในอากาศ (Airborne particulate matter pollution) หรือ ฝุ่น PM 2.5 (Particulate Matter) ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่เล็กมาก เท่ากับ 1 ใน 25 ของเส้นผมคนเรา จนขนจมูกไม่สามารถกรองได้ สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมเข้าสู่กระบวนการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เจ้าฝุ่นเล็กจิ๋วที่กระจายอยู่ในอากาศเป็นสิ่งที่เราต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจและสุขภาพผิวโดยตรง โดยจะไปทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) กับชั้นฟิล์มไขมันเคลือบผิว (Sebum) ที่ทำหน้าที่เสมือนเกราะปกป้องผิวให้เกิดการระคายเคือง อักเสบ อุดตัน นำมาซึ่งปัญหาผิว อาทิ สิว ริ้วรอย รวมถึงความหมองคล้ำ ครีมกันแดด ที่อ่อนโยนต่อทุกสภาพผิว ห่างไกลจากปัญหาผิวหมองคล้ำ ฝ้า กระ จุดด่างดำและมะเร็งผิวหนัง วิธีการป้องกันอันตรายจากแสงแดดได้ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด ๆ ในช่วงเวลาประมาณ 09.00-16.00 น.


แสงแดดและมลพิษทางอากาศถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำร้ายผิวได้รุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับสาเหตุอื่น ๆ ด้วยทุกวันนี้โลกของเรามีแนวโน้มที่จะเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศมากขึ้น ยิ่งในช่วงนี้ประเทศไทยของเรากำลังประสบปัญหาเรื่อง ฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 นั้นมีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งเล็กกว่ารูขุมขนคนเราถึง 20 เท่า จึงสามารถแทรกซึมเข้าสู่รูขุมขนได้ง่าย และส่งผลกระทบกับผิวหนังโดยตรงขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น และระยะเวลาการสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

ระยะเฉียบพลัน ก่อให้เกิดอาการอักเสบ ระคายเคืองของผิว ทำให้ผิวเสียสมดุลความชุ่มชื้น เนื่องจาก PM 2.5 สามารถทำลายเซลล์ผิวชั้นนอก หรือชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) และทำลายโปรตีนฟิลแลกกริน (Filaggrin) ที่มีหน้าที่ป้องกันผิวหนัง (epidermal barrier protein)

ระยะเรื้อรัง เกิดจากการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 เป็นระยะเวลานาน โดยฝุ่น PM 2.5 จะไปกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระรบกวนการทำงานของเซลล์ผิว ทำให้ผิวเสื่อมเร็วกว่าปกติ ทำลายคอลลาเจน ทำให้ผิวเหี่ยวย่น เกิดริ้วรอย กระตุ้นให้ผิวผลิตเม็ดสีสาเหตุของการเกิดฝ้า กระ และจุดด่างดำ


ชนิดของรังสียูวี



แสงแดดที่แทรกชั้นบรรยากาศลงมาถึงโลกของเราได้นั้น จะมีรังสีแสงแดดที่มีผลต่อผิวหนังอย่างมาก ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ช่วงคลื่นใหญ่ด้วยกัน คือ

  • ช่วงคลื่นระหว่าง 320-400 นาโนเมตร (คลื่นยาว) เราจะเรียกกันว่า รังสี UVA ซึ่งเป็นรังสีที่สามารถแทรกซอนถึงผิวชั้นลึก ๆ หรือผิวหนังชั้นล่างได้ ทำลายเนื้อเยื่อและดีเอ็นเอของเซลล์ผิว (สามารถทะลุผ่านเมฆและกระจกได้ด้วย) โดยเป็นตัวทำลายคอลลาเจนและความชุ่มชื้นของผิวหนัง ทำให้ผิวแห้งจนเกิดริ้วรอยลึกหรือผิวเหี่ยวย่น (++++), ทำให้เกิดฝ้า กระ (+++), มะเร็งผิวหนัง (++) และผิวหมองคล้ำ (+)

  • ช่วงคลื่นระหว่าง 290-320 นาโนเมตร (คลื่นกลาง) เราจะเรียกกันว่า รังสี UVB เป็นรังสีสามารถทะลุได้ถึงชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น จึงทำให้ผิวหนังแดงหรือผิวไหม้แดด ซึ่งเป็นตัวการหลักทำให้สีผิวของเราหมองคล้ำ หรือที่เราเรียกว่า "แดดเผา" (++++), เป็นมะเร็งผิวหนัง (+++), ทำให้เกิดริ้วรอย (++) และปัญหาฝ้า กระ (+)

  • ช่วงคลื่นระหว่าง 200-290 นาโนเมตร (คลื่นสั้น) เราจะเรียกกันว่า รังสี UVC ซึ่งในปัจจุบันยังส่องมาที่พื้นโลกได้ไม่มากนัก เพราะเกือบทั้งหมดถูกกรองไปแล้วโดยชั้นบรรยากาศโอโซนที่ห่อหุ้มโลกของเราอยู่ จึงทำให้ไม่มีผลิตภัณฑ์สำหรับการป้องกันรังสีชนิดนี้


ค่า SPF ในการป้องกันรังสี UVB

ค่าประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีบี (UVB) เราจะเรียกว่า SPF (Sun Protection Factor) แต่ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ “ค่า SPF ก็คือ ค่าความสามารถในการป้องกันรังสี UVB ไม่ให้เกิดอาการแดงของผิวหนัง” ซึ่งการจะคำนวณระยะเวลาในการป้องกันรังสี UVB จะต้องดูพื้นผิวของเราเป็นหลัก ซึ่งผิวแต่ละคนจะมีระยะเวลาในการป้องกันไม่เท่ากันอยู่แล้ว อย่างเช่น คนผิวขาวเมื่อตากแดดไปเพียง 10 นาที ผิวก็จะเริ่มแดง แต่อย่างคนทั่วไปที่มีผิวสองสีจะต้องใช้เวลาตากแดด 15 นาที ผิวถึงจะเริ่มแดง หรือถ้าเป็นคนผิวสีเข้มหรือผิวดำ ก็อาจจะต้องตากแดดนานถึง 30 นาที ผิวถึงจะเริ่มแดง เป็นต้น


ค่า PA ในการป้องกันรังสี UVA

PA หรือ Protection Grade of UVA เป็นค่าที่แสดงถึงคุณสมบัติในการปกป้องผิวจากรังสียูวีเอ (UVA) ส่วนเครื่องเครื่องหมาย + ที่ตามหลังนั้นคือค่าความสามารถในการปกป้องผิว โดยวัดเป็นเท่าของการเกิดผิวคล้ำดำ (Skin pigmentation) โดยค่า PA จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ ดังนี้

  • PA+ สามารถป้องกันรังสี UVA ได้ 1-4 เท่าของผิวปกติ หรือป้องกันได้น้อย

  • PA++ สามารถป้องกันรังสี UVA ได้ 4-8 เท่าของผิวปกติ หรือป้องกันได้ปานกลาง (ทำงานในร่ม)

  • PA+++ สามารถป้องกันรังสี UVA ได้ 8-16 เท่า หรือป้องกันได้มาก (ทำงานกลางแดด)

  • PA++++ สามารถป้องกันรังสี UVA ได้ 16 เท่าขึ้นไป หรือป้องกันได้สูงมาก (ทำงานกลางแดดตลอดเวลา)



ประเภทของครีมกันแดด

  • ครีมกันแดดชนิดเคมี (Chemical sunscreen) เป็นครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่ทำหน้าที่ในการปกป้องแสงแดด ด้วยการดูดซับรังสีเข้าผิวหนังแล้วเปลี่ยนเป็นความร้อน เพื่อป้องกันไม่ให้แสงผ่านลงในชั้นผิวหนังได้ (เนื้อครีมจะเป็นข้น ๆ น้ำนมเหมือนเนื้อครีมทั่วไป ซึมซับได้ง่าย) ซึ่งหลังจากโดนแดดสักพัก สารเคมีเหล่านี้ก็จะเสื่อมสภาพ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราต้องทาครีมกันแดดทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง สารป้องกันแดดประเภทนี้บางชนิดจะดูดซับได้เฉพาะรังสี UVA หรือ UVB หรือทั้งสองอย่าง สารเคมีที่ใช้ผสมในครีมกันแดด คือ Panimate O, Bensophenone, Cinnamates, Antranilate, Homosalate และ Oxybenzene ซึ่งครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ง่ายขึ้นด้วย โดยเฉพาะกับคนที่มีผิวแพ้ง่าย

  • ครีมกันแดดชนิดกายภาพ (Physical sunscreen) จะมีส่วนผสมของสารที่สามารถสะท้อนรังสี UVA และ UVB ที่ตกกระทบให้ออกไปจากผิวหนังได้ ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะมีผลระคายเคืองต่อผิวหนังน้อยกว่าสารในกลุ่มแรก แต่ข้อเสียของครีมกันแดดประเภทนี้คือจะไม่สามารถให้ค่า SPF ที่สูงได้ เนื้อครีมจะไม่ละเอียดมากนักหรืออาจเป็นขุยหน่อย ๆ คล้ายกับมีแป้งผสมเพราะเป็นเหมือนรองพื้นในตัวได้ด้วย และเมื่อนำมาทาบนผิวหนังแล้วจะทำให้ดูวอกหรือดูขาวมากจนเกินไป (เนื่องจากสารจะเคลือบบนผิวหนังชั้นบนเพื่อรอแสงมากระทบ จึงมีการดูดซึมสู่ผิวน้อย) อีกทั้งยังล้างออกได้ยากอีกด้วย

  • ครีมกันแดดชนิดผสม (Chemical-Physical sunscreen) เป็นแบบผสมที่ช่วยเสริมข้อดีและลดข้อด้อยในแต่ละส่วน นั่นคือ ลดการระคายเคืองต่อผิวหนังจากสารเคมี ลดความขาวเมื่อทาครีม และช่วยเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดร่วมกัน

วิธีดูแลผิว พร้อมรับมือปกป้องpm2.5

  1. ล้างทำความสะอาด ขจัดสารอนุภาคละอองฝุ่นที่ตกค้างออกจากผิวหนัง โดยอาบน้ำและล้างหน้า วันละ 2 ครั้ง และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เหมาะกับสภาพผิว

  2. การทาครีมให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว เป็นการทำให้ชั้นผิวหนังมีความแข็งแรงมากขึ้น สามารถช่วยป้องกันผิวจากมลภาวะจากฝุ่น โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่ให้ความชุ่มชื้นที่เหมาะกับสภาพผิว

  3. ปกป้องผิวจากแสงแดด โดยเลือกผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด ที่สามารถป้องกันได้ทั้ง UVA, UVB, Visible Light และ Infrared เพื่อป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัย ลดการเกิดกระ ฝ้า จุดด่างดำ อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย

  4. สัมผัสฝุ่น PM2.5 ให้น้อยที่สุด เช่น งดกิจกรรมกลางแจ้ง อาจเปลี่ยนเป็นออกกำลังกายในบ้านหรือฟิตเนส แทนการวิ่งตามสวนสาธารณะ

  5. ใส่หน้ากากอนามัย สวมเสื้อผ้าแขนยาว ขายาวเพื่อปกคลุมร่างกายไม่ให้สัมผัสกับฝุ่นโดยตรง

  6. ใช้ cleansing water สูตรอ่อนโยน เพื่อช่วยเช็ดเอาฝุ่น PM2.5 ออกจากผิวหน้าให้ได้มากที่สุด

  7. ไม่ควรล้างทำความสะอาดผิวหลายรอบ และเลี่ยงการล้างด้วยน้ำอุ่น เพราะทำให้ผิวแห้งจนเกินไปและเกิดการระคายเคืองได้ง่าย อาจใช้เจลล้างหน้าหรือครีมอาบน้ำสูตรอ่อนโยน

  8. ทาโลชั่นหรือครีมทั้งที่ผิวหน้าและผิวกายภายใน 3 นาทีหลังจากล้างทำความสะอาดผิวเสร็จ เพื่อทำให้ผิวชุ่มชื้นยากต่อการระคายเคือง และยังช่วยลดการที่ผิวจะสัมผัสกับฝุ่น PM2.5 โดยตรง

  9. แสงแดดเป็นตัวกระตุ้นให้มลพิษทางอากาศทำงานได้ดีขึ้น การปกป้องผิวด้วยการทา ครีมกันแดด จึงเป็นตัวช่วยที่ดี

  10. หลีกเลี่ยงการแกะเกา โดยเฉพาะการสัมผัสผิวหน้าขณะอยู่ในบริเวณที่มีฝุ่น PM2.5 ปริมาณมาก



หากจำเป็นต้องออกนอกอาคาร ควรสวมหน้ากากที่มีคุณสมบัติปกป้องฝุ่น PM 2.5 ได้ รวมทั้งเลือกสวมใส่เสื้อแขนยาว และกางเกงขายาว เป็นต้น

นอกจากการปกป้องผิวด้วยวิธีข้างต้นแล้ว แนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางออกไปข้างนอกอาคารโดยไม่จำเป็น สิว เรื่องใหญ่ ดูแลรักษาปัญหาสิวกวนใจวัยรุ่น


 

อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ กันแดด ดูแลผิว

ติดตามอ่านบทความดีๆ ได้ที่beautymustknow.com

กันแดด กันดะ มีวางจำหน่ายแล้วทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลและเลือกซื้อสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : https://www.facebook.com/pg/kandabeauty.company/ website : Kandabeauty.com

ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page