top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนniracha payyakul

กันแดด รู้เจาะลึก เลือกใช้เพื่อผิวสุขภาพดี

กันแดด รู้เจาะลึก เลือกใช้เพื่อผิวสุขภาพดี

เมื่อผิวของเราได้รับแสงแดด ควรหาสิ่งที่ปกป้องผิวจากแสงแดด กันแดด รู้เจาะลึก ปกป้องรังสียูวีได้ยาวนาน ปัญหาฝ้า กระ รอยดำ สู่ผิวขาวใสมีสุขภาพดี หนึ่งในความปรารถนาของคุณสาวๆ

แสงแดดที่แรงมากขึ้นทุก ๆ ปีในบ้านเรา เซลล์ผิวหนังก็จะสร้างเม็ดสีเมลานินเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ผิวหนังมีสีคล้ำขึ้น และบางคนอาจเกิดปัญหาฝ้า กระ ตามมา ถ้าได้รับแสงแดดจัดมาก ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการแดงหรืออาการถูกแดดเผาได้ นอกจากนี้รังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวีในแสงแดดยังอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย



ครีมกันแดด (Sunscreen) คือ สารที่ช่วยปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวี (Ultraviolet Radiation: UV) โดยช่วยให้ผิวไม่ถูกแสงแดดทำลายจนไหม้หรือเกิดจุดด่างดำต่าง ๆ รวมทั้งลดโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนัง ส่วนผสมที่อยู่ในครีมกันแดดจะช่วยปกป้องผิวด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ปกป้องชั้นผิวที่อยู่ลึก หรือสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลตกลับออกไป


ทั้งนี้ ครีมกันแดดมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ โลชั่น ครีมกันแดด ขี้ผึ้ง หรือสเปรย์ครีมกันแดดจะมีค่าป้องกันแสงแดดหรือค่า SPF (Sun-Protection Factor: SPF) ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์ โดยค่า SPF คือตัวเลขที่ใช้บอกระดับการปกป้องผิวจากแสงแดด ตัวเลขที่ต่างกันนั้นประเมินจากการป้องกันรังสียูวีบีว่าป้องกันได้มากกว่าปกติกี่เท่า อย่างไรก็ตาม ค่า SPF ไม่ได้แสดงประสิทธิภาพของการป้องกันรังสียูวีเอ การปกป้องผิวจากแสงแดดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ ระยะเวลาที่ออกแดด ช่วงเวลาที่ออกแดด สภาพแวดล้อม ฤดูกาล และอากาศ อีกทั้งยังมีระดับความแรงของแสงแดด การเสียดสีสัมผัส เหงื่อ หรือน้ำ ผู้ที่ใช้ครีมกันแดดจึงควรเลี่ยงอยู่กลางแจ้งที่มีแดดจ้าเป็นเวลานาน และต้องทาครีมกันแดดซ้ำอยู่เสมอ หรือทาซ้ำทุก 2-4 ชั่วโมง


ประเภทการป้องกันแสงแดด

ครีมกันแดดสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สารกันแดดแบบเคมี และสารกันแดดแบบกายภาพ ดังนี้

  • สารกันแดดแบบเคมี (Chemical Absorbers) สารกันแดดแบบเคมีคัล ทำหน้าที่ดูดซับรังสีไม่ให้ทะลุผ่านไปยังผิวหนังได้ ครีมกันแดดประเภทนี้จะปกป้องผิวจากแสงแดด โดยใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติดูดซับแสงแดดที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีบนผิวหนังสารกันแดดแบบเคมีคัล ทำหน้าที่ดูดซับรังสีไม่ให้ทะลุผ่านไปยังผิวหนังได้ เป็นสารกันแดดที่พบได้ทั่วไป (ปกป้องผิวจากรังสี UVB ได้ทุกตัว แต่การปกป้องจากรังสี UVA-I, UVA-II แตกต่างกันไป) สารกันแดดชนิดนี้มีประสิทธิภาพต่างกันไปตามชนิดของสารกรองแสงที่ช่วยป้องกันรังสียูวีเอ (Ultraviolet A) และรังสียูวีบี (Ultraviolet B) ทั้งนี้ สารกันแดดแบบเคมีมักไม่คงทน รวมทั้งก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวได้

  • สารกันแดดแบบกายภาพ (Physical Blockers) สารกันแดดแบบฟิสิคัล ทำหน้าที่เหมือนเป็นกระจกเงาสะท้อนหรือหักเหรังสี UV ออกไปจากผิว ครีมกันแดดที่ผสมสารกันแดดแบบกายภาพ สารในกลุ่มนี้มีอยู่สองตัวคือ Titanium Dioxide และ Zinc Oxide (ปกป้องผิวจากรังสี UVA-I,UVA-II,UVB ได้) จะปกป้องผิวจากแสงแดด โดยใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติสะท้อนรังสีจากแสงแดดออกไป สารกันแดดชนิดนี้ป้องกันได้ทั้งรังสียูวีเอและรังสียูวีบี ไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีกับผิวหนัง อย่างไรก็ตาม สารกันแดดแบบกายภาพจะมีเนื้อครีมที่ข้นและเหนียวเหนอะหนะ

  • Hybrid Sunscreen เป็นครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติทําให้ผิวคล้ำขึ้น โดยส่วนใหญ่นิยมใช้ในผู้มีผิวสีน้ำตาลแทนอย่างปลอดภัย สารกันแดดแบบผสมที่ช่วยเสริมข้อดีและลดข้อด้อยในแต่ละส่วน นั่นคือ ลดการระคายเคืองต่อผิวหนังจากสารเคมี ลดความขาวเมื่อทาครีม และช่วยเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดร่วมกัน มีคุณสมบัติทั้งสะท้อนและดูดซับรังสีในตัวเอง เช่น Bis-Benzotriazolyl Tetramethylbutylphenol หรือ Tinosorb M (ปกป้องผิวจากรังสี UVA-I,UVA-II, UVB ได้)


ค่า PA ในการป้องกันรังสี UVA

PA หรือ Protection Grade of UVA เป็นค่าที่แสดงถึงคุณสมบัติในการปกป้องผิวจากรังสียูวีเอ (UVA) ส่วนเครื่องเครื่องหมาย + ที่ตามหลังนั้นคือค่าความสามารถในการปกป้องผิว โดยวัดเป็นเท่าของการเกิดผิวคล้ำดำ (Skin pigmentation) โดยค่า PA จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ ดังนี้

PA+ สามารถป้องกันรังสี UVA ได้ 1-4 เท่าของผิวปกติ หรือป้องกันได้น้อย PA++ สามารถป้องกันรังสี UVA ได้ 4-8 เท่าของผิวปกติ หรือป้องกันได้ปานกลาง (ทำงานในร่ม) PA+++ สามารถป้องกันรังสี UVA ได้ 8-16 เท่า หรือป้องกันได้มาก (ทำงานกลางแดด) PA++++ สามารถป้องกันรังสี UVA ได้ 16 เท่าขึ้นไป หรือป้องกันได้สูงมาก (ทำงานกลางแดดตลอดเวลา)

ค่า SPF ในการป้องกันรังสี UVB

ค่าประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีบี (UVB) เราจะเรียกว่า SPF (Sun Protection Factor) แต่ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ “ค่า SPF ก็คือ ค่าความสามารถในการป้องกันรังสี UVB ไม่ให้เกิดอาการแดงของผิวหนัง” ซึ่งการจะคำนวณระยะเวลาในการป้องกันรังสี UVB จะต้องดูพื้นผิวของเราเป็นหลัก ซึ่งผิวแต่ละคนจะมีระยะเวลาในการป้องกันไม่เท่ากันอยู่แล้ว อย่างเช่น คนผิวขาวเมื่อตากแดดไปเพียง 10 นาที ผิวก็จะเริ่มแดง แต่อย่างคนทั่วไปที่มีผิวสองสีจะต้องใช้เวลาตากแดด 15 นาที ผิวถึงจะเริ่มแดง หรือถ้าเป็นคนผิวสีเข้มหรือผิวดำ ก็อาจจะต้องตากแดดนานถึง 30 นาที ผิวถึงจะเริ่มแดง เป็นต้น

ค่า SPF ยิ่งสูงก็ยิ่งแสดงว่าครีมกันแดดนั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีได้มากขึ้นด้วย ดังนี้

SPF 2 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 50% SPF 4 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 75% SPF 6 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 80% SPF 8 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 87.5% SPF 10 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 80% SPF 15 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 93.3% SPF 20 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 95% SPF 25 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 96% SPF 30 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 96.7% SPF 45 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 97.8% SPF 50 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 98%


รังสียูวีจากแสงแดดนอกจากจะตกกระทบโดยตรงแล้วยังมีการสะท้อนหรือหักเหอีกด้วย นั่นหมายความว่าการอยู่ในที่ร่ม อยู่บนถนน ยืนตามชายหาด หรือยืนอยู่บนหิมะ คุณก็ยังได้รับทั้งรังสีโดยตรงบวกกับการสะท้อนหักเหอีกด้วยเป็นทวีคูณ ดังนั้นในขณะที่มีแสงแดด แม้ว่าเราจะอยู่ในที่ร่มก็ต้องทา ครีมกันแดด หรือเครื่องสำอางที่ผสมสารป้องกันแสงแดดอยู่เสมอ ยิ่งในหน้าหนาวก็ต้องระวังกันเป็นพิเศษด้วยล่ะ เพราะแสงแดดในหน้านี้จะมีความเข้มข้นสูง

  • ผลิตภัณฑ์กันแดดที่ดีควรปกป้องผิวได้ทั้งรังสี UVA-I, UVA-II และ UVB

  • แดดเมืองไทยแนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF 30-50 ,PA มากกว่า 3+ หรือ PPD มากกว่า 10

  • ในโลกนี้ไม่มีผลิตภัณฑ์กันแดดใดๆ ที่กัน UVA และ UVB ได้สมบูรณ์แบบ 100% การทาผลิตภัณฑ์กันแดดเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการป้องกันความเสียหายของ DNA ที่ผิวเรา สิ่งที่ควรทำไปควบคู่กันไป คือการหลีกเลี่ยงแสงแดด

ในสมัยก่อน ผู้หญิงไม่ได้มีเมกอัพหรือเครื่องประทินผิวที่ล้างออกยาก ประกอบกับวิตามินและเกลือแร่จะซึมซาบสู่ผิวไป บำรุงผิว ประทินผิวกาย ภายใน เนื่องจากมีสารแทนนิน ใช้ต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวและลดการอักเสบ

 

อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ กันแดด รู้เจาะลึก

ติดตามอ่านบทความดีๆ ได้ที่ beautymustknow.com

กันแดด กันดะ มีวางจำหน่ายแล้วทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลและเลือกซื้อสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : https://www.facebook.com/pg/kandabeauty.company/ website : Kandabeauty.com

ดู 4 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page