top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนniracha payyakul

อาหารไทย ต้านโควิด low-bacterial diet เสริมภูมิคุ้มกัน

อาหารไทย ต้านโควิด low-bacterial diet เสริมภูมิคุ้มกัน

การรับประทานอาหารให้ครบถ้วนเพียงพอตามหลักโภชนาการ มีส่วนช่วยให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงพร้อมต่อสู้กับเชื้อไวรัส อาหารไทย ต้านโควิด เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

“โภชนาการของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19” เป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย และปัจจุบันผู้ที่ป่วยโรคดังกล่าวมีหลากหลายวัยทั้งเด็ก คนสูงอายุ กระทั่งคนวัยหนุ่มสาว แต่สิ่งสำคัญคือภูมิต้านทานที่จะเป็นปราการสำคัญในการรับมือกับเชื้อไวรัสร้าย โดยเฉพาะการรับประทานในกลุ่มที่เรียกว่า “อาหารแบคทีเรียต่ำ” (low-bacterial diet) ที่สามารถลดการติดเชื้อไวรัสในผู้ป่วยโรคโควิด-19 หรือบางรายที่ติดเชื้อในปริมาณต่ำก็สามารถหายเองได้



อาหารไทย ต้านโควิดเพิ่มเกราะป้องกันห่างไกลโควิด-19

  • "ผัดกะเพรา"

คนไทยส่วนใหญ่ก็จะสั่งข้าวกะเพราไข่ดาวเป็นอันดับแรก ถึงแม้จะว่าเป็นเมนูสิ้นคิด แต่ความจริงแล้วคือเมนูซุปเปอร์ฟู้ดเลยทีเดียว เพราะว่าใบกะเพรามีสารโอเรียนทิน (orientin) ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อของเซลล์ ช่วยป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยจากเชื้อไวรัส แถมยังมีสารสำคัญที่มีศักยภาพในการป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ ด้วยคุณสมบัติเลอเลิศขนาดนี้ อย่าลืมสั่งเมนูข้าวกะเพราไก่ไข่ดาวมากินเป็นอาหารต้านไวรัสกัน จึงช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยไข้จากเชื้อไวรัสได้

  • "ต้มยำ"

ต้มยำเมนูแซ่บๆ ที่ถูกปากคนไทย ยิ่งกินตอนร้อนๆ โล่งคอโล่งจมูกเป็นที่สุด แถมยังเป็นเมนูถูกหลักอนามัยที่ต้องกินร้อนใช้ช้อนของตัวเอง ส่วนประกอบหลักเมนูต้มยำ คือ เนื้อสัตว์ไม่ว่าจะเป็นไก่ หมู ปลา สัตว์ทะเล สามารถเลือกได้ตามที่ชอบ พร้อมด้วย หอมแดง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ซึ่งเป็นสมุนไพรชั้นเลิศ ยิ่งในหอมแดงมีสารเคอร์ซีติน (quercetin) ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อและป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกายได้ และในต้มยำยังใส่เห็ดนานาชนิดซึ่งมีสารเบต้ากลูแคน ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ไม่ป่วยง่าย แถมยังมีน้ำมะนาวบีบใส่ในต้มยำ ซึ่งมีวิตามินซีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

  • "เมี่ยงคำ"

เมี่ยงคำ อาหารว่างโบราณที่มีมานานพบใน "กาพย์เห่ชมเครื่องว่าง" ปัจจุบันเมี่ยงคำได้ประยุกต์ให้ทานสะดวกขึ้นด้วยการห่อเป็นคำๆ แล้วเสียบไม้เป็นอาหารว่างที่ชาวต่างชาติเมื่อมาเมืองไทยจะต้องลิ้มลอง เมี่ยงคำ ประกอบ ด้วยสมุนไพรมากมายทั้ง ใบชะพลู ขิง พริก มะพร้าว ถั่วลิสง กุ้งแห้ง และยังมีสมุนไพรต้านไวรัส อย่างหอมแดง และมะนาวหั่นทั้งเปลือก ทั้งสองอย่างนี้มีสารเฮสเพอริดิน สารรูติน และวิตามินซี ช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย ลดโอกาสการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ได้ ประโยชน์มากมายขนาดนี้ต้องขอลองดูสักคำ

  • "ต้มโคล้ง"

ต้มโคล้ง(รวมถึงเมนูแกงเลียงและยำชนิดต่างๆ) มีส่วนผสมของสมุนไพรจำพวกหอมใหญ่ หอมแดง เห็ดชนิดต่างๆ และมะนาว ซึ่งมีสารสำคัญ เช่น สารเคอร์ซีทิน เบต้ากลูแคน และวิตามินซี ที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ไม่ป่วยง่าย มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

  • "แกงส้มมะรุม แกงส้มผักรวม"

แกงส้มทั้งสองชนิดนี้ต่างก็เป็นอาหารไทยที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ เริ่มจาก "แกงส้มมะรุม" ซึ่งหลายคนอาจจะกินไม่ค่อยเป็น แต่ความจริงแล้วมะรุมเป็นผักที่มีคุณประโยชน์สูงทั้งช่วยลดคอเลสเตอรอล มีมะรุมเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งมีสารเคอร์ซีติน (quercetin) ที่มีศักยภาพในการป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ ส่วนเมนู "แกงส้มผักรวม" ควรใช้ผักหลากหลายสีผสมกัน เพราะอุดมไปด้วยวิตามินซี และสารกลุ่มแอนโทไซยานินซึ่งเป็นสารเฟลโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่ป่วยง่าย คุณประโยชน์มากมายขนาดนี้ ต้องลองกินดูแล้วจะรู้ว่าแกงส้มมะรุมก็อร่อยไม่แพ้แกงส้มชะอมไข่เลยทีเดียว

  • "น้ำพริกผักต้ม ผักสด"

เมนูน้ำพริกผักต้มหรือผักสด โดยอาจจะเน้นผักสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาในเมนูนี้มห้มากขึ้น เช่น ดอกขี้เหล็ก ยอดมะยม ใบเหลียง ยอดสะเดา มะระขี้นก ฟักข้าว ผักเชียงดา คะน้า มะรุม ผักแพว ผักหลากสี ซึ่งผักเหล่านี้อุดมไปด้วยสารกลุ่มแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารกลุ่มเฟลโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง และมีวิตามินซีสูงด้วย

การทานผัก ผลไม้ และสมุนไพรพื้นบ้านของไทยหลายชนิด มีสารป้องกันการติดเชื้อช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ดังนั้นจึงอยากให้กินอาหารเป็นยา ไม่ใช่กินยาเป็นอาหาร ขอแนะนำเมนูอาหารไทยที่ประกอบด้วยผักและสมุนไพรช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ที่สำคัญสามารถทำเองได้ไม่ยาก แถมรสชาติถูกปากอีกด้วย



การสวมหน้ากากเมื่อออกจากบ้าน หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ใช้ เจลล้างมือ และเว้นระยะห่างแล้ว การเลือกกินอาหารที่ดีและมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้ได้รับปริมาณสารอาหารแต่ละชนิดเพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานเป็นปกติและเต็มศักยภาพ


อาหาร low-bacterial diet เสริมภูมิคุ้มกันได้จริงหรือ

หลายคนที่สงสัยว่า “อาหารแบคทีเรียต่ำ” นั้นคืออะไร ซึ่งอันที่จริงแล้วคือ “อาหารที่ปรุงสุกสะอาด” ประกอบกับปัจจุบันนั้นบ้านเรามีผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 หลากหลายวัย แต่สิ่งที่เหมือนกันอยู่ 1 อย่างในการดูแลสุขภาพของป่วยที่มักมีอาการไอ เจ็บคอ และมีไข้สูงนั้น การกินอาหารกลุ่มแบคทีเรียต่ำหรืออาหารปรุงสุกใหม่นั้น ไม่เพียงช่วยลดอาการติดเชื้อไวรัสในผู้ป่วยลงได้ แต่ในบางคนที่ติดเชื้อโควิด-19 ในระดับที่ต่ำ ก็สามารถหายเองด้วยการกินอาหารกลุ่มดังกล่าว ทั้งนี้อาหารกลุ่มปรุงสุกใหม่นั้นเราคุ้นเคยกันดี โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งมักจะมีภาวะภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ ดังนั้น “อาหารแบคทีเรียต่ำ” จึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์มากที่สุด

การกินผักและผลไม้ดีวันละ 400 กรัม จาก สสส. บอกอีกว่า “นอกจากผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะต้องกินอาหารปรุงสุกสะอาดแล้ว ก็ต้องบริโภคผักและผลไม้เช่นกัน อาทิ ผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานในร่างกายให้สูงขึ้น แต่ทั้งนี้อาจมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่น ผู้ป่วยโรควิด-19 ไม่ควรดื่มน้ำส้มคั้นหรือผลไม้สดที่มีเปลือก เนื่องจากจะมีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีเปลือกบางซึ่งเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค เช่น องุ่น แอปเปิล สาลี่ จึงควรหลีกเลี่ยงผลไม้กลุ่มนี้ แต่ผู้ป่วยสามารถบริโภคส้มจีนที่มีเปลือกค่อนข้างหนา ที่สำคัญต้องล้างให้สะอาดก่อนกิน (ปอกเปลือกออกก่อน) หรือเลือกกินผลไม้ไทยๆ อย่างกล้วยและแก้วมังกร เพื่อเพิ่มวิตามินซีให้ร่างกาย และป้องกันเชื้อแบคทีเรียปลอมปนจากเปลือกผลไม้เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย

นอกจากนี้ การบริโภคอาหารกลุ่ม “low-bacterial diet” (อาหารปรุงสุกสะอาด) ในกลุ่มของวัยรุ่นที่ติดเชื้อโควิด-19 นั้น สามารถกินเนื้อสัตว์ทุกชนิดได้ ไม่ว่าจะเป็นหมู เนื้อ ปลาหมึก ปลา กุ้ง หอย แต่จะต้องปรุงให้สุกมากที่สุดกระทั่งเนื้อสัตว์ข้างในเป็นสีขาว เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียในอาหาร ปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย


แนะนำ 10 อันดับ อาหารสุขภาพที่มีผลการศึกษาวิจัยหลายฉบับยืนยันแล้วว่าช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันช่วยต่อสู้ไวรัส

1.กระเทียม มีเควอซิทิน และอัลลิซินสารสำคัญที่ช่วยต้านการอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระ และมีงานวิจัยพบว่าช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของโควิด-19

2.ขมิ้น มีวิตามินซี เคอร์คูมิน มีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้อยู่ในระดับปกติ

3.ผักเคล หรือผักคะน้า มีสารซัลโฟราเฟน และเควอซิทิน ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

4.เห็ดต่างๆ มีสารเบต้ากลูแคน (Beta-Glucan) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

5.มะขามป้อม มีวิตามินซีค่อนข้างสูงโดยพบว่าสูงกว่าส้มถึง 8 เท่า มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดขาว เสริมความแข็งแกร่งให้ระบบภูมิคุ้มกัน

6.กิมจิ มีสารสำคัญ โปรไบโอติกส์ ชนิดแลกโตบาซิลลัส ช่วยให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้น และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

7.มะละกอ โดยเฉพาะมะละกอสุกเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เบต้าแคโรทีน ที่ล้วนแต่เป็นสารสำคัญในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว จึงมีความสามารถในการสกัดกั้นเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น

8.เมล็ดฟักทอง มีวิตามินอี โอเมก้า-3 และสังกะสี ที่มีส่วนเพิ่มการสร้างเซลล์ต่าง ๆ ในระบบภูมิคุ้มกัน

9.ดาร์กช็อคโกแลต อุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระอาจช่วยให้ร่างกายสามารถจัดการกับไวรัส

10.แซลมอน มีวิตามินดีและโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดขาว และเป็นสารสำคัญในกระบวนการทำงานของระบบภูมิต้านทานในร่างกาย

นอกจากนี้ เครื่องดื่มประเภท ชาเขียว มีสารสำคัญคาเทชิน และฟลาโวนอยด์ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และปรับภูมิคุ้มกัน และช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด-19

ปิดท้ายกันที่อาหารห้ามกินสำหรับผู้ป่วยติดโควิด-19 โดยเฉพาะ โยเกิร์ต และน้ำแข็ง บอกว่า “เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรค และเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากผู้ป่วยโรคโควิด-19 ต้องระวังเกี่ยวกับเชื้อไวรัสและแบคทีเรียเข้าไปทำลายปอด ดังนั้นจึงไม่ควรบริโภคน้ำแข็งในช่วงที่ต้องรักษาตัว ส่วนโยเกิร์ตแนะนำผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงบริโภคในช่วงนี้เช่นกัน แม้ว่าในโยเกิร์ตจะมีจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้ แต่ถ้าในร่างกายมีจุลินทรีย์มากไป ซึ่งจุลินทรีย์ถือเป็นสิ่งที่มีชีวิต และหากย้อนกลับข้างต้นที่เราบอกว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะต้องกินอาหารที่ปรุงสุกสะอาด หรืออาหารกลุ่ม “low-bacterial diet” ที่ปราศจากเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนในร่างกาย ก็จำเป็นต้องงดกินโยเกิร์ตเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัยที่ป่วยโรคโควิด-19 ซึ่งมีภูมิต้านทานโรคต่ำอยู่แล้ว”


เพื่อให้ปลอดภัยจากไวรัสร้าย สิ่งสำคัญคือ การ์ดอย่าตก สวมแมสก์ ล้างมือบ่อยๆ ด้วย เจลล้างมือ และเว้นระยะห่างทางสังคม อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพให้มีภูมิต้านทานที่ดี ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย


ทั้งนี้ การปรุงประกอบอาหารควรเลือกวัตถุดิบที่สด สะอาด และปรุงอาหารให้สุกใหม่ทุกครั้ง ลดกินหวาน มัน เค็ม ต้านโควิด อาหาร นอกจากนี้ควรมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมเพื่อเผาผลาญพลังงานในแต่ละวัน เช่น ทำงานบ้าน เต้นแอโรบิกในบ้าน หรือมีกิจกรรมผ่อนคลายเพื่อลดภาวะเครียดและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7 - 9 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง มีสุขภาพดีในระยะยาว

 

อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ อาหารไทย ต้านโควิดติดตามอ่านบทความดีๆ ได้ที่beautymustknow.com

กันแดด กันดะ มีวางจำหน่ายแล้วทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลและเลือกซื้อสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : https://www.facebook.com/pg/kandabeauty.company/ website : Kandabeauty.com

ดู 30 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page