โควิค คลัสเตอร์ใหม่ สำคัญอย่างไร?
การระบาดของโควิด-19 ทำให้คนส่วนใหญ่เริ่มคุ้นเคยกับคำใหม่ๆ เช่น New normal หรือความปกติใหม่กันมากขึ้นแล้ว โควิค คลัสเตอร์ใหม่ ในการระบาดระลอกใหม่ของประเทศไทยนี้ พบกลุ่มก้อนการระบาดเกิดขึ้นหลายครั้งจนตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมรวมแล้วทะลุ 1 หมื่นราย หลายคนจึงคุ้นเคยกับคำใหม่อีกคำที่ได้ยินบ่อยขึ้น นั่นก็คือ “คลัสเตอร์” นั่นเอง
ไวรัสโควิด (COVID-19) หรือชื่อเดิมที่เราเรียกว่าไวรัสโคโรนาซึ่งกำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ โดยผู้ติดเชื้อรายที่มีอาการรุนแรงมักมีอาการของโรคปอดอักเสบและอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เป็นที่ทราบกันดีกว่าโรคนี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คน ไม่ว่าจะเป็นจากการไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคนที่ติดเชื้อ
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเป็นสิ่งที่สำคัญ ทุกประเทศจึงมีมาตรการในการป้องกัน ควบคุม ตามบริบทของตัวเอง ที่เหมาะสมกับสถานะการณ์
องค์การอนามัยโลก ประกาศ โรคโควิด 19 เป็นโรคระบาดที่กระจายทั่วโลก (Pandemic) เป็นโรคที่มีความยากที่จะกวาดล้างให้หมดไป เพราะกระจายระบาดไปเกือบทุกประเทศทั่วโลกแล้ว โควิด 19 จึงจะอยู่กับเราไปอีกนาน จนกว่าเราจะมีวัคซีนในการป้องกัน ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เป็นหนึ่งในวิธีการควบคุม ที่จะลดการสูญเสีย ต่อมนุษย์ ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม
คลัสเตอร์โควิดคืออะไร?
คลัสเตอร์โควิด (Cluster) ใช้เรียกกรณีตรวจพบผู้ติดโควิด-19 ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในรอบ 14 วัน โดยทุกคนมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน และอาจมีช่วงเวลาสัมผัสใกล้กัน โดยจะใช้คำว่าคลัสเตอร์เรียกแหล่งที่มาของติดโรคนั้น
คลัสเตอร์อาจไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าต้นทางเชื้อมาจากที่ใด ผู้ติดเชื้อแต่ละคนติดเชื้อจากคนไหน เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะสัมผัสรับเชื้อจากคนอื่นๆ ในพื้นที่เดียวกัน
ในกรณีคลัสเตอร์โควิดนี้ สามารถเป็นได้ทั้งสถานที่ กิจกรรม หรือกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกัน เช่น คลัสเตอร์ปาร์ตี้ คลัสเตอร์สนามมวย และจะถือว่าคลัสเตอร์ถึงจุดสิ้นสุดเมื่อไม่พบผู้ติดเชื้อนานกว่า 14 วัน
คลัสเตอร์ในทางระบาดวิทยาสามารถใช้ได้กับโรค หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้ด้วย เช่น โรคมะเร็ง ปัญหาการคลอดบุตรที่เกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่
ปัจจุบันเรามีข้อมูลว่าประมาณ 80 % ของผู้ติดเชื้อโควิด 19 มีอาการไม่รุนแรง และมีจำนวนหนึ่งอาจไม่มีอาการ (5%-40%) แต่จะเป็นผู้แพร่กระจายโรคได้ ส่วนผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุจึงมีความเสี่ยงสูง จึงควรอยู่บ้าน และให้ลูกหลานเป็นผู้ออกนอกบ้าน ลูกหลานจะต้องเข้าใจว่า อาจจะนำเชื้อมาสู่ท่านได้ การควบคุมป้องกันโรคจึงจำเป็นที่จะต้องป้องกันทั้งตัวเอง และการนำไปแพร่ให้คนอื่น เพื่อให้มีผู้ป่วยเกิดขึ้นได้น้อยที่สุด
การใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ อย่างน้อย 30 วินาที หากไม่สะดวกควรใช้ แอลกอฮอล์ เจลหรือสเปรย์ การพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8-9 ช.ม.ต่อวัน และเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม เพื่อเสริมภูมิต้านทาน เลือกทานอาหารปรุงสุก สะอาด และใช้ช้อนกลางทุกครั้ง ทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผัก ผลไม้หลากสี รวมถึงอาหารเสริม อาทิ ถั่งเช่า เห็ดหลินจือ วิตามิน C และ E เป็นต้น
คลัสเตอร์โควิดสำคัญอย่างไร?
การระบุจำนวนผู้ติดเชื้อหลังจากที่มีการกระจายจากคลัสเตอร์ไปแล้ว จะทำได้ยากกว่าการระบุจำนวนผู้ติดเชื้อในคลัสเตอร์ที่ยังไม่กระจายออกไป
เนื่องจากการพบผู้ติดเชื้อหลังจากกระจายออกไปแล้วนั้น มีความเป็นไปได้ที่ผู้ติดเชื้ออาจรับเชื้อมาจากที่อื่น ไม่ใช่ในคลัสเตอร์เดียวกับรายอื่นๆ หรือผู้ติดเชื้ออาจแพร่เชื้อไปยังที่อื่นแล้วโดยไม่รู้ตัว ทำให้ระบุจำนวนได้ยาก
จำนวนผู้ติดเชื้อที่ตรวจพบ จึงมักจะน้อยกว่าจำนวนจริงที่แพร่กระจายออกไปแล้ว หากพบผู้เชื่อมโยงกับคลัสเตอร์ใดๆ จึงควรต้องสอบสวนโรคอย่างเร็วที่สุด และให้คำแนะนำที่ถูกต้องในการป้องกันโรค
การประมาณตัวเลขคลัสเตอร์โควิด อาจวิเคราะห์จากข้อมูลทางสถิติ และทำการตรวจเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยงเพื่อลดการระบาดได้ เช่นเดียวกับกรณีของการปูพรมตรวจโรงงานต่างๆ ในจังหวัดสมุทรสาคร
นอกจากนี้ หากสถานที่ใดพบผู้ป่วย หรือมีอาการคล้ายคนป่วยพร้อมกันหลายคน อาจเป็นสัญญาณคลัสเตอร์โควิดใหม่ได้เช่นกัน
ดังนั้น สิ่งสำคัญในการหยุดยั้งการระบาดก็คือการยกการ์ดให้สูง และหากทราบว่าตนเองมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อ ควรสังเกตอาการอยู่บ้านเป็นเวลา 14 วัน หากต้องการตรวจโควิดแบบ RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจหาโรคติดเชื้อโควิด-19
การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจแบบ Rapid Antigen Test ที่เน้นความสะดวกรวดเร็ว ราคาไม่แพง หรือการตรวจแบบ RT-PCR ที่ให้ผลได้แม่นยำกว่า แต่ต้องรอผลตรวจนานมากขึ้น การตรวจหาเชื้อโควิด-19 เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือมีอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อโควิด-19
การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วย Rapid Antigen Test คืออะไร
เป็นการ Swab (เก็บตัวอย่างเชื้อบริเวณลำคอ และหลังโพรงจมูก)ตรวจทดสอบเพื่อหาเชื้อเบื้องต้น สามารถตรวจได้สะดวกและทราบผลได้รวดเร็ว ผู้ตรวจสามารถรอผลตรวจได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง (ระยะเวลาอาจเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ใช้บริการตามสถานพยาบาลนั้นๆ) การตรวจแบบ Rapid Antigen Test เพื่อให้ผู้ติดเชื้อรู้ตัวและเข้าสู่กระบวนการกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ อย่างไรก็ตามยังคงเป็นเพียงการตรวจเบื้องต้น ควรตรวจด้วยวิธี RT-PCR ร่วมด้วยเพื่อความแม่นยำหากมีผลเป็นบวก หรือมีอาการ
ตรวจโควิด-19 ด้วย Rapid Antigen Test ที่ไหน
ต้องเลือกตรวจ Rapid Antigen Test กับสถานที่ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้วเท่านั้น และชุดตรวจต้องผ่านมาตรฐานขึ้นทะเบียนกับทาง อย.
การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วย RT-PCR คืออะไร
การตรวจ RT-PCR (Polymerase chain reaction) เป็นการ Swab เก็บตัวอย่างเชื้อบริเวณลำคอ และหลังโพรงจมูก (เช่นเดียวกันกับตรวจ Antigen) แต่จะทราบผลใน 2-3 วัน เนื่องจากต้องมีการวัดผลผ่านห้องปฏิบัติการ ถือเป็นการตรวจที่มีความถูกต้องแม่นยำมากกว่า แต่จะใช้เวลาในการวินิจฉัยตัวอย่างเชื้อนานกว่า และเป็นการตรวจที่แนะนำจาก WHO เนื่องจากสามารถตรวจหาเชื้อในปริมาณน้อยได้
สรุปRT-PCR และRapid Antigen Test แตกต่างกันอย่างไร
สำหรับ Rapid Antigen Test เป็นการตรวจที่สะดวกและใช้ระยะเวลาน้อยกว่าในการวินิจฉัย เป็นการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในระดับเบื้องต้น หากผลออกมาเป็นบวก (พบเชื้อโควิด-19) ต้องตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยันอีกครั้ง
ต่างกับการตรวจแบบ RT-PCR ที่เป็นการตรวจในระดับสูงสามารถยืนยันเชื้อได้แม้จะมีเชื้ออยู่ในตัวน้อยมากก็ตาม โดยไม่ต้องพึ่งการตรวจแบบอื่นอีก แต่จะใช้เวลาในการวินิจฉัยนานกว่าแบบ Rapid Antigen Test
ใครบ้างที่ควรตรวจโควิด-19 แบบ Rapid Antigen Test และ RT-PCR
ผู้ที่มีประวัติเคยใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19
ผู้ที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย แต่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
ผู้ที่มีอาการชัดเจน เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน เป็นต้น
เพื่อป้องกันการติดเชื้อวิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
1.รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้อื่น (อย่างน้อย 1 เมตร) แม้ว่าผู้นั้นจะไม่ได้ป่วยก็ตาม
2.สวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิดหรือเว้นระยะห่างไม่ได้
3.หลีกเลี่ยงพื้นที่ปิด พยายามอยู่ในพื้นที่เปิดโล่งและอากาศถ่ายเทสะดวก เปิดหน้าต่างเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิด
4.ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็น แอลกอฮอล์
5.รับวัคซีนเมื่อได้รับสิทธิ์ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในพื้นที่เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน
6.ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม
7.เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย
เริ่มมีอากาศเย็นกันแล้วนะ ถึงไม่หนาวมาก แต่เชื่อว่าสาวๆก็ต้องบำรุงผิวจากรอยแผลเป็นจากสิว สิวอุดตัน กำจัด ให้ผิวสตรอยแข็งแรง สูตรการบำรุงอย่างล่ำลึกลดการเกิดสิวจากหน้ากากอนามัยที่ก่อให้เกิดสิว ควรบำรุงผิวกายด้วยมอยส์เจอไรเซอร์ที่อุดมไปด้วยคอลลาเจน หรือสารสกัดจากธรรมชาติ ทาเป็นประจำทุกวันก็จะช่วยบรรเทาอาการผิวแห้ง คัน และช่วยฟื้นคืนให้ผิวกายของสาว ๆ กลับมาอิ่มน้ำ และเนียนนุ่มน่าสัมผัสได้ค่ะ
อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ โควิค คลัสเตอร์ใหม่
ติดตามอ่านบทความดีๆ ได้ที่ beautymustknow.com
กันแดด กันดะ มีวางจำหน่ายแล้วทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลและเลือกซื้อสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : https://www.facebook.com/pg/kandabeauty.company/ website : Kandabeauty.com
Comments