top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนniracha payyakul

โควิด ซากเชื้อ รู้เจาะลึกทำไมไวรัสโคโรนาถึงลงปอด

โควิด ซากเชื้อ รู้เจาะลึกทำไมไวรัสโคโรนาถึงลงปอด

เกิดการระบาดระลอกใหม่ของ โควิด ซากเชื้อ รู้เจาะลึกทำไมไวรัสโคโรนาถึงลงปอด อยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า “ไวรัส” กันอีกหน ว่ามันคืออะไรกันแน่ ไวรัสบางชนิดอาจอยู่กับเรามาตั้งแต่เกิดหรือตั้งแต่เด็กๆ ด้วยซ้ำโดยไม่แสดงอาการอะไร เช่นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใสในวัยเด็ก แม้เราหายจากโรคก็ไม่ได้แปลว่าร่างกายจะปลอดจากไวรัส มันอาจผุดขึ้นมาใหม่ในรูปแบบของโรคงูสวัสดิ์ได้ ถ้าร่างกายอ่อนแอ

ยุคนี้เราได้ยินคำว่าไวรัสกันจนชิน ไวรัส (Virus) เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ตำราเรียนในอดีตใช้คำว่า วิสา เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน แต่ทุกวันนี้ เราทับศัพท์ ว่า ไวรัส



ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ (infectious) ได้ทั้งในมนุษย์ สัตว์ พืช สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ (cellular life) ไวรัสทำให้เกิดโรคและส่งผลกระทบกว้างขวาง ไวรัสบางตัว ทำให้เกิดโรคระบาดในวงกว้าง ทำให้ คน สัตว์ เสียชีวิตจำนวนมากได้

ไวรัสต้องอาศัยอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์ได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมาก มีลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง

โครงสร้างภายในไวรัสเป็นกรดนิวคลีอิก เป็นสาย DNA หรือ RNA (ยกเว้นบางชนิด) ที่เป็นกลุ่มโปรตีน ในระดับโมเลกุล เรียงกันเป็นสาย ไวรัสมีขนาดเล็กมาก ขนาดประมาณ 20-300 นาโนเมตร ขึ้นกับชนิด จึงสามารถเข้าไปอยู่ในเซลล์ (เซลล์เม็ดเลือดแดงของคนมีขนาด 7 ไมโครเมตร) ไวรัสสามารถหลุดรอดผ่านเครื่องกรองที่ใช้กรองแบคทีเรียได้ การส่องดูตัวไวรัส ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน การเพิ่มจำนวนไวรัส หรือการขยายพันธุ์ จะเกิดได้เฉพาะอยู่ในเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตท่านั้น เพราะต้องใช้กลไกของเซลล์สิ่งมีชีวิตช่วยเพิ่มจำนวน ไวรัสไม่มีการสังเคราะห์เปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงานแบบ เมตาโบลิซึม เหมือนสิ่งมีชีวิตอื่น ต้องอาศัยการทำงานของเซลล์ที่ไวรัสเข้าไปอยู่ในการขยายแพร่จำนวนเท่านั้น



ไวรัสทำให้เกิดโรคจริง?

ไวรัสทำให้เกิดโรค เพราะ เมื่อเข้าอยู่ในเซลล์ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนเซลล์โฮสต์ที่มันอยู่ เช่น ทำให้เซลล์ตาย มีการรวมตัวของเซลล์ หรือทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ไวรัสเป็นเชื้อที่ไม่สามารถทำลายด้วยยาปฏิชีวนะ เหมือนโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย การขจัดไวรัส จะต้องใช้ยา หรือ สารเคมี ไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส ทำให้ไวรัสลดปริมาณลง หรือหมดไป

ไวรัส เป็นจุลินทรีย์ที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ไวรัส ประกอบด้วยแกนกลางของกรดนิวคลิอิกซึ่งเป็น RNA หรือ DNA และมีโปรตีนหุ้มล้อมรอบเพื่อป้องกันกรดนิวคลิอิก สาย DNA หรือ RNA จึงประกอบด้วยการจับกันของอนุมูลโมเลกุลเรียงกัน เป็นสายรหัสพันธุกรรม เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่น

การที่ไวรัส ‘เกือบ’ ไม่มีชีวิต ทำให้การใช้ยาปฏิชีวนะกับไวรัสไม่ได้ผล เพราะยาปฏิชีวนะหรือ antibiotics นี่ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเอาไว้ ‘ต้าน’ สิ่งที่มีชีวิต (คือชีวะ) โดยมากคือใช้กับแบคทีเรีย ยานี้จะเข้าไปทำลายแบคทีเรียด้วยวิธีการต่างๆ

แต่ไวรัสฆ่ายากฆ่าเย็น เพราะมันแทบไม่มีชีวิตให้ฆ่า สิ่งที่มนุษย์ใช้ก็คือ ‘ยาต้านไวรัส’ (จะเห็นว่าไม่มีใครใช้คำว่า ‘ยาฆ่าไวรัส’) ซึ่งไม่ได้เข้าไป ‘ฆ่า’ มัน แต่เข้าไปขัดขวางวงจรการจำลองตัวเอง เหมือนการไปหยุดสายพานการผลิตหุ่นยนต์นั่นเอง

ไวรัสนั้นไม่มีกระบวนการเมตาโบลิซึมในตัวเอง ดังนั้น มันจึงต้องไปใช้กระบวนการเมตาโบลิซึมของเซลล์อื่นๆ ที่มันไปอาศัยให้เป็นประโยชน์ แต่ไม่ได้แปลว่ามันจะไปเกาะแล้วดูดกินแบบปรสิต เพราะไวรัสไม่ต้องกินอะไร แต่มันใช้เซลล์ ใช้พลังงานและ ‘อุปกรณ์’ ในเซลล์เหล่านั้น (เรียกว่า ออร์กาเนล) เพื่อการจำลองสารพันธุกรรมของมัน

ไวรัสบางชนิดมีชั้นไขมัน หุ้มล้อมรอบแกนกลางอีกชั้นหนึ่ง เรียกไวรัสพวกนี้ว่า ไวรัสมีเปลือกหุ้ม (enveloped virus) ไวรัสบางชนิดมีเฉพาะแกนกลางเท่านั้น เรียกว่า ไวรัสไม่มีเปลือกหุ้ม หรือ ไวรัสเปลือย (non-enveloped virus หรือ naked virus)

ไวรัสที่มีเปลือกหุ้มบางชนิดมีปุ่มยื่นออกมาจากชั้นเปลือก เรียกว่า สไปค์ (spike) ซึ่งมีความสำคัญในการใช้เกาะกับตัวจับ (receptor) บนผิวเซลล์และบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ที่ดี spikeของไวรัสอาจมีคุณสมบัติเป็นสารบางอย่างหรือเป็นเอนไซม์

โดยทั่วไปไวรัสไม่มีเปลือกหุ้มมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าไวรัสมีเปลือกหุ้มและจะไม่ถูกทำลายด้วยสารละลายไขมัน เช่น แอลกอฮอร์ สบู่


ไวรัสติดใครได้บ้างทำไมไวรัสโคโรนาถึงลงปอด

ไวรัสสามารถเข้าไปฝังตัวได้ทั้งในพืช สัตว์ และมนุษย์ตามชนิดและสายพันธุ์ของไวรัสนั้นๆ โดยในปี 2429 ได้ค้นพบไวรัสชนิดแรกคือไวรัสทีเอ็มวี (TMV : tobacco mosaic virus) ที่ก่อให้เกิดโรคใบยาสูบด่างในพืชหลายชนิด เมื่อปี 2561 ประเทศจีนพบการระบาดเป็นวงกว้างของไวรัส ASF หรือ African swine fever virus ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร แต่ไวรัสชนิดนี้เป็นไวรัสที่ไม่ติดต่อจากสัตว์ไปสู่มนุษย์และไวรัสที่เราคุ้นหูกันดีเช่นไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ที่ก่อให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์และโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก จะเห็นว่าโดยปกติไวรัสจะไม่มีการติดต่อข้ามสายพันธุ์ ยกเว้นไวรัสนั้นจะเกิดการกลายพันธุ์ เช่น ไวรัสเอเวียนอินฟลูเอนซา (Avian Influenza virus) สายพันธุ์ H3N2 ที่ก่อให้เกิดโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกพัฒนาสายพันธุ์เป็น ไวรัสไข้หวัดใหญ่สุนัข (Canine influenza A virus subtype H3N8) รวมถึงไวรัสโคโรนาที่ปกติเป็นไวรัสก่อโรคในสัตว์ แต่เมื่อกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ก็สามารถก่อโรคในมนุษย์ได้ นักวิทยาศาสตร์เรียกการการกลายพันธุ์นี้ว่า human coronaviruses หรือ HCoVs

ถ้าเราเทียบไวรัสกับเซลล์ (โดยเฉพาะเซลล์มนุษย์) ต้องบอกว่าถ้าเซลล์มีขนาดเท่ากับลูกบาสเกตบอล ไวรัสจะมีขนาดเล็กจิ๋วมาก คือเท่ากับจุดเพียงหนึ่งจุดเท่านั้น โดยรูปร่างหน้าตาของไวรัสมีหลากหลาย เช่น เป็นทรงกลม (แบบโคโรนาไวรัสที่เราคุ้นเคยกันดีในตอนนี้) หรืออาจมีรูปร่างเป็นแท่ง เป็นเกลียว

เวลาเราบอกว่าใครสักคน ‘ติดเชื้อ’ (infect) ไวรัส แปลว่าไวรัสเข้าไปใช้กลไกและอุปกรณ์ต่างๆ ของเซลล์ เพื่อจำลองสารพันธุกรรมของมันเอง กระบวนการนี้เรียกว่า Replication

พูดแบบย่นย่อ กระบวนการ Replication มีขั้นตอนใหญ่ๆ แค่สองขั้นตอน ขั้นแรกก็คือ เมื่อไวรัสเข้าไปสู่ร่างกายแล้ว มันจะพยายามหา ‘ที่เกาะ’ กับผิวของเซลล์ ซึ่งที่ยึดเกาะนี้ ส่วนใหญ่ต้องมีลักษณะจำเพาะเจาะจง มันถึงจะเกาะได้ เราเรียกที่เกาะนี้ว่า ‘ตัวรับ’ หรือ Receptors

แล้วก็มาถึงขั้นตอนที่สอง ขั้นตอนนี้ก็คือเมื่อสารพันธุกรรมหลุดเข้ามาในเซลล์แล้ว ก็จะเกิดขั้นตอนที่ซับซ้อน คือมีการจำลองตัวเองขึ้นมา โดย ‘อุปกรณ์’ ในเซลล์ที่สำคัญมากต่อการจำลองตัวเองขึ้นมาก็คือ ออร์กาเนล (organelle) บางอย่างในเซลล์ ทำให้เซลล์นั้นๆ เป็นเสมือน ‘โรงงานผลิตไวรัส’ คือจะเกิดการสร้างสารพันธุกรรมของไวรัสขึ้นมามากมาย จากนั้นแต่ละสารก็จะสร้างเปลือกหรือแคปสิดขึ้นมาห่อหุ้มตัวเองโดยใช้ทรัพยากรต่างๆ ของเซลล์

ป้องกันไวรัวโควิด-19 ห่างไกลการแพร่ระบาด

  • ไวรัสแต่ละชนิดมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ดังนั้นนักวิทยศาสตร์จะทำการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสเพื่อนำไปสู่การรับมือและผลิตวัคซีนในการป้องกันไวรัส

  • โดยปกติแล้วไวรัสจะถูกทำลายด้วยความร้อนเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงหรือแสงอัลตราไวโอเลต (UV) ในช่วง 100 – 400 นาโมเมตร

  • การใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติละลายไขมันในหรือทำให้โปรตีนและสารพันธุกรรมของไวรัสเสียสภาพไป เช่น คลอรีน แอลกอฮอร์ เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม ไวรัสจะทวีจำนวนขึ้นมา แล้วหมุนวนเป็นวงจรเพื่อจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายก็ก่อให้เกิดอาการของโรคขึ้นมา แต่การดูแลผิวกก็เป็นสิ่งสำคัญ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างในปัจจุบัน กันแดดหน้า สะท้อนยูวี ถือเป็นสกินแคร์สำคัญอีกหนึ่งไอเท็มจำเป็นแสงแดดที่แรงมากขึ้นทุกๆปีในบ้านเรา รังสียูวีจากแสงแดดเข้ามาทำร้ายผิวได้ป้องกันอย่างถูกจุดเพื่อผิวแข็งแรง

 

อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ โควิด ซากเชื้อ

ติดตามอ่านบทความดีๆ ได้ที่ beautymustknow.com

กันแดด กันดะ มีวางจำหน่ายแล้วทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลและเลือกซื้อสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : https://www.facebook.com/pg/kandabeauty.company/ website : Kandabeauty.com

ดู 6 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page